skip to Main Content

โรงงานดักจับคาร์บอนจากอากาศที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ไอซ์แลนด์

ภาพโรงงานดักจับคาร์บอนจาก: bloomberg ปัญหาของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้ว (Extreme Climate Change) ได้พบเห็นและรุ่นแรงมากขึ้นในทุก ๆ ปี ไม่ว่าจะเป็นปรากฎการณ์ฝนตกพันปี หรือ สภาพอากาศที่หนาวสุดขั้ว หรือ สภาพอากาศที่ร้อนอย่างรุนแรงส่งผลให้ประชากรต้องเสียชีวิตจำนวนมาก สาเหตุหลักจากสภาวะโลกร้อนที่เกิดมาจากผลของการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศของโลกอย่างมหาศาลมาอย่างต่อเนื่อง ทั่วโลกมีแนวทางหลายอย่างในการช่วยลด หรือบรรเทาการเพิ่มขึ้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ รวมถึงแนวทางในการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศ ซึ่งมีอยู่ 6 แนวทางหลัก คือ ป่าไม้ คือ การสังเคราะห์ด้วยแสงจะช่วยขจัดคาร์บอนไดออกไซด์ ฟาร์ม ผ่านกระบวนการสร้างคาร์บอนไดออกไซด์ในดิน พลังงานชีวภาพที่มีการดักจับและกักเก็บคาร์บอน การดักจับคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศโดยตรง การทำให้เป็นแร่คาร์บอน แนวคิดเกี่ยวกับมหาสมุทรเพื่อการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ ตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยี่ในการช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนในปัจจุบันที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในเวลานี้ คือ การเริ่มเดินเครื่องกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศโดยตรง ที่ประเทศไอซ์แลนด์ เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2021 ที่ผ่านมา…

Read more

จาก “สาหร่ายทะเล” สู่ซูเปอร์แบตเตอรี่ Lithium-sulfur

แบตเตอรี่ Lithium-sulfur หรือ แบตเตอรี่ Li-S ถือเป็นแบตเตอรี่ที่ใช้ต้นทุนต่ำแต่ให้พลังงานสูงและเป็นแหล่งพลังงานทั้งสำหรับยานพาหนะและวัสดุอุปกรณ์หรือโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ อย่างไรก็ตาม แบตเตอรี่ดังกล่าวยังคงมีจุดด้อยเรื่องความจุพลังงาน นักวิทยาศาสตร์แห่ง Lawrence Berkeley National Laboratory ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยหลักสังกัดกระทรวงพลังงาน (Department of Energy, DOE) ของสหรัฐอเมริกา หรือเรียกสั้นๆ ว่า Berkeley Lab ได้ค้นพบแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อปกปิดจุดด้อยดังกล่าว ทีมงานวิจัยที่นำโดย Gao Liu มีการค้นพบว่า ‘สาหร่ายแคร์ราจีแนน’ สามารถทำให้แบตเตอรี่ Li-S ให้พลังงานได้อย่างคงที่ นอกจากนี้ยังทำให้แบตเตอรี่ทำงานได้รอบสม่ำเสมอและมีอายุการใช้งานต่อครั้งยาวนานขึ้น โดยการศึกษาดังกล่าวถูกเขียนลงบนวารสาร Nano Energy ในหัวข้อ “กำเนิดซุปเปอร์แบตเตอรี่ Li-S จากปฏิกิริยา…

Read more

เครื่องบินพลังงานแบตเตอรี่

นักพัฒนานวัตกรรม กำลังตื่นตัวกับเทคโนโลยีเครื่องบินพลังงานแบตเตอรี่ ที่ทำให้เครื่องบินมีน้ำหนักเบา และเสียงเงียบมาก ไม่นานนี้ที่งานมหกรรมอากาศยาน บริษัทต่างๆ เริ่มนำเครื่องบินพลังงานไฟฟ้ามาเปิดตัวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยผู้เชี่ยวชาญต่างกล่าวว่า ระยะเวลาชาร์จแบตเตอรี่เพียง 45 นาที ถึง 2 ชั่วโมง สามารถบินได้ราวๆ ครึ่งชั่วโมง Mr.Peter Bunce จากหน่วยงานด้านการผลิตอากาศยาน General Aviation Manufacturers Association ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า “เครื่องบินที่ใช้เครื่องยนต์มอเตอร์ไฟฟ้ามีคุณภาพสม่ำเสมอกว่าเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมัน” แวดวงเทคโนโลยีการบินประเมินไว้ว่า อนาคตอันใกล้ เราอาจจะได้เห็นเครื่องบินพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ขนส่งสินค้าภายใน 5 ปีนับจากนี้

Read more

นวัตกรรมพลิกโลกด้วย “เครื่องมืออินฟราเรดกักเก็บพลังงานความร้อนเหลือทิ้ง”

New Infrared-Emitting Device เป็นนวัตกรรมใหม่ที่มีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนา โซลาร์เซลล์ยุคปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น thermophotovoltaics เป็นชนิดหนึ่งของโซลาร์เซลล์ที่ใช้แสงอินฟราเรดและความร้อนที่แตกต่างจากโซลาเซลล์ที่ใช้แสงชนิดหนึ่งจากดวงอาทิตย์ที่มนุษย์สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า เช่น แสงแดด เป็นต้น ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนา thermophotovoltaics ให้มีความเสถียรมากยิ่งขึ้นและเพียงพอที่จะกักเก็บพลังงานความร้อนเหลือทิ้งจากบริเวณต่าง ๆ รอบตัวเรา เครื่องมือกักเก็บพลังงานความร้อนเหลือใช้ด้วยแรงเหนี่ยวนำพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ (ที่มาของรูปภาพ website : phys.org) ขณะนี้กลุ่มผู้วิจัย thermophotovoltaics ได้สร้าง เครื่องมือเพื่อกักเก็บพลังงาน อินฟราเรด “อภิวัสดุ” วัสดุที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้มีคุณสมบัติตามที่จุดประสงค์เท่านั้น โดยคุณสมบัติเหล่านี้ไม่สามารถพบได้ตามธรรมชาติ โดยกลุ่มผู้วิจัยใช้อภิวัสดุนี้เพื่อกักเก็บและปลดปล่อย คลื่นความถี่รังสีอินฟราเรดด้วยการติดตั้งโปรแกรมควบคุมการทำงานของอุปกรณ์นี้บนระบบ MEMS (microelectromechanical systems) ระบบจักรกลไฟฟ้าจุลภาค ผลจากการประดิษฐ์เครื่องมือนี้สามารถกักเก็บพลังงาน อินฟราเรดด้วยเวลาอันรวดเร็วจากพิกเซลสู่พิกเซล มากไปกว่านั้นเครื่องมือชนิดนี้ยังสามารถทำงานดีได้ตามประสิทธิภาพในอุณหภูมิห้องและหากนำไปวางไว้ในบริเวณความร้อนสูงจะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บพลังงาน แผงวงจรอภิวัสดุอัจฉริยะขนาดพิกเซลต่อพิกเซล (ที่มาของรูปภาพ website…

Read more

อาชาสายฟ้า “Powered Commuter Bike” พร้อมควบในเมืองกรุงด้วยพลังงานสะอาด

โดยบริษัทนี้ได้เริ่มต้นพัฒนารถจักรยานยนต์ไฟฟ้าที่จะออกแบบให้เหมือนรถจักรยานยนต์ในยุคเก่า สำหรับรถจักรยานยนต์ที่ บริษัท startup แห่งนี้กำลังพัฒนา ถูกขนานนามว่า มอเตอร์ไซค์ สายฟ้า(Bolt Motorbikes) รุ่น M1 Electric Moped โดยการพัฒนามอเตอร์ไซค์คันนี้ได้รับอิทธิพลมาจากจำนวนผู้ใช้จักรยานยนต์ในสังคมเมืองเพิ่มขึ้น นวัตกรรมแบตเตอรี่ใหม่ๆ และ รสนิยมย้อนยุค รถจักรยานยนต์ในยุค 70s (ที่มาของรูปภาพ website : yclasicos)      และที่สำคัญการออกแบบเจ้ามอเตอร์ไซค์คันนี้ยึดมาตรฐานการออกแบบให้สอดคล้องกับกฎหมายของรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่เกี่ยวข้องกับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ที่ไม่จำเป็นต้องทำใบขับขี่รถจักรยานยนต์เพิ่มอีกใบ โดยผู้พัฒนาเน้นย้ำการออกแบบให้มีรสนิยมที่เท่ห์ และ เบา สำหรับการจารจรในสังคมเมือง โดยผู้พัฒนาให้คำมั่นสัญญาที่ว่าหากผู้ซื้อสามารถขับจักรยานได้ เจ้ามอเตอร์ไซค์สายฟ้าคันนี้ผู้ซื้อก็สามารถขับขี่ได้เช่นกัน   ฟังก์ชั่นพร้อมใช้กับโทรศัพท์มือถือ (ที่มาของรูปภาพ website : indiegogo)     …

Read more

ลูกแก้วดวงตะวันผลิตไฟฟ้า THE SPHERICAL SUN POWER GENERATOR

สถาปนิกเยอรมัน Andre Broesselเชื่อว่าเขามีทางออกที่สามารถ "บีบไฟฟ้าออกจากดวงอาทิตย์ได้มากขึ้น" แม้ในช่วงเวลากลางคืนและในบริเวณที่มีแสงน้อย บริษัท ของเขาคือRawlemonมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนทุกอย่างด้วยเทคโนโลยีใหม่ที่สวยงามและไม่อาจปฏิเสธได้โดยใช้เทคโนโลยี Concentrated Photovoltaic (CPV) ได้สร้างต้นแบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทรงกลมที่เรียกว่า beta.ray เทคโนโลยีของเขาจะรวมหลักการเรขาคณิตทรงกลมด้วยระบบติดตามคู่แกนทำให้สามารถใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบเดิมได้เป็นสองเท่าในพื้นที่ผิวที่เล็กกว่ามาก การออกแบบอันล้ำหน้านี้สามารถหมุนได้เต็มที่และเหมาะสำหรับพื้นผิวที่เอียงผนังอาคารและทุกที่ที่สามารถเข้าถึงท้องฟ้าได้ สามารถใช้เป็นสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้ Ball Lens เน้นการทำงานที่ระดับประสิทธิภาพเกือบ 57% ในโหมดไฮบริด ในเวลากลางคืน Ball Lens สามารถเปลี่ยนเป็นหลอดไฟกำลังสูงเพื่อให้แสงสว่างแก่สถานที่ของคุณได้ง่ายๆโดยใช้ไฟ LED ไม่กี่ดวง สถานีได้รับการออกแบบมาสำหรับสภาพการใช้งานนอกอาคารรวมถึงการเพิ่มการใช้พลังงานไฟฟ้าและวงจรความร้อนของอาคารเช่นน้ำร้อน "     ตามแบบของนักออกแบบทรงกลมที่โปร่งใสสามารถเก็บรวบรวมและให้ความสำคัญกับการแพร่กระจายที่อุปกรณ์แบบเดิม ๆ ไม่สามารถรวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพได้พวกเขาสามารถนำไปใช้ในสถานที่ต่างๆได้ไกลกว่าที่ราบคงที่ของพวกเขา นอกจากนี้ยังอ้างว่าโดยการมุ่งเน้นแสงดวงอาทิตย์ในพื้นที่หนึ่งการออกแบบของ Rawlemonช่วยลดพื้นผิวเซลล์แสงอาทิตย์ที่ต้องการเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ของความต้องการตามแผงแบบเดิม Rawlemonมีเป้าหมายที่จะนำอุปกรณ์ต่าง ๆ ออกสู่ตลาดโดยเริ่มจากเครื่องชาร์จโทรศัพท์รุ่น…

Read more
Back To Top