skip to Main Content

การปรับปรุงประสิทธิภาพในฤดูหนาว: การจัดการอินเวอร์เตอร์ในสภาพอากาศหนาวเย็น

บทความเชิงเทคนิคจาก Solis การปรับปรุงประสิทธิภาพในฤดูหนาว: การจัดการอินเวอร์เตอร์ในสภาพอากาศหนาวเย็น บทนำ ฤดูหนาวเป็นฤดูกาลที่ท้าทายสำหรับระบบโซลาร์เซลล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอินเวอร์เตอร์ ซึ่งจากการสัมมนาล่าสุดของ Solis ผู้เชี่ยวชาญได้แบ่งปันข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพของอินเวอร์เตอร์ในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศหนาวเย็น ผลกระทบของอุณหภูมิต่ำต่อการทำงานของอินเวอร์เตอร์ ความผันผวนของแรงดันไฟฟ้า อุณหภูมิที่ต่ำจะเพิ่มแรงดันไฟฟ้าแบบเปิดวงจร (Open Circuit Voltage) ของแผงโซลาร์เซลล์ ส่งผลให้แรงดันไฟฟ้าของระบบอินเวอร์เตอร์สูงขึ้น การสัมผัสกับแรงดันสูงเป็นเวลานานส่งผลต่ออุปกรณ์สวิตชิ่งของอินเวอร์เตอร์ ซึ่งส่งผลต่ออายุการใช้งานและความน่าเชื่อถือ ในสภาวะอุณหภูมิต่ำ แรงดันไฟฟ้าของสาย PV อาจเกินช่วงแรงดันไฟฟ้าเข้าของอินเวอร์เตอร์ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาได้ อุปกรณ์ที่ไวต่ออุณหภูมิ ชิ้นส่วนภายในของอินเวอร์เตอร์ อาทิเช่น IGBT, DSP, คาปาซิเตอร์ ฯลฯ มีช่วงอุณหภูมิเฉพาะสำหรับการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด การทำงานนอกเหนือจากช่วงอุณหภูมิเหล่านี้อาจส่งผลต่ออายุการใช้งานและความน่าเชื่อถือของอินเวอร์เตอร์ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็วอันเกิดจากอุณหภูมิที่ต่ำสามารถสร้างความเครียดให้กับชิ้นส่วนเหล่านี้ และส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพได้ ความเครียดจากอุณหภูมิที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิสูงและต่ำอย่างต่อเนื่องจะนำไปสู่การลดลงของคุณสมบัติทางกายภาพหรือเคมีของวัสดุและอุปกรณ์ของอินเวอร์เตอร์ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานหรืออายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ การทำงานของพัดลม อินเวอร์เตอร์ที่มีกำลังไฟฟ้าสูงจะใช้พัดลมภายนอกเพื่อระบายความร้อน…

Read more

ผสานรวมเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์และสุนทรียะในงานสถาปัตยกรรมเข้ากับโมดูล Hi-MO 6

พลังงานแสงอาทิตย์ถือเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่เติบโตมากเป็นอันดับต้น ๆ ในด้านการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ โดยได้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าทั่วโลกในอนาคต การอัปเกรดเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ ประกอบกับสถานการณ์การใช้งานที่เพิ่มขึ้น เป็นผลทำให้แผงพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับการติดตั้งบนหลังคาบ้านเรือน อาคารพาณิชย์และโรงงานอุตสาหกรรม มีศักยภาพอย่างมหาศาล โดยนักวิเคราะห์ในอุตสาหกรรมนี้ระบุว่าการใช้งานผลิตภัณฑ์แผงพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบดังกล่าว คิดเป็นสัดส่วน 47.9% ของกำลังการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งใหม่ทั่วโลกในปี พ.ศ. 2564 โดยในจำนวนนี้มีผู้ใช้งานกลุ่มที่อยู่อาศัยคิดเป็นสัดส่วน 26% ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาห้าปีติดต่อกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการของผู้ใช้พลังงาน ทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ LONGi จึงได้ทำการสำรวจผู้ใช้งานปลายทางหลายพันคนในช่วงสองปีที่ผ่านมา จนได้ข้อสรุปว่าท้ายที่สุดแล้วพวกเขากำลังมองหาผลิตภัณฑ์ที่ผสมผสานประสิทธิภาพและความปลอดภัยเข้ากับสุนทรียศาสตร์ทางสถาปัตยกรรมอย่างลงตัวโดยผลลัพธ์ที่ได้ก็คือการถือกำเนิดขึ้นของ Hi-MO 6 ซึ่งเป็นแผงพลังงานแสงอาทิตย์ตัวแรกที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับตลาดผู้บริโภคกลุ่มที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์และโรงงานอุตสาหกรรมทั่วโลก โดยใช้เทคโนโลยี HPBC (Hybrid Passivation Back Contact) ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งนี้ Hi-MO 6 ยังคงไว้ซึ่งเวเฟอร์ขนาด M10 (182…

Read more

มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ร่วมกับ กฟผ. นำร่องศึกษาการสั่งจ่ายไฟฟ้าจากแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าสู่ระบบไฟฟ้า

มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) ร่วมกับ กฟผ. นำร่องศึกษาการสั่งจ่ายไฟฟ้าจากแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าสู่ระบบไฟฟ้า ทดสอบนวัตกรรมโรงไฟฟ้าเสมือน เสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าในอนาคต เตรียมต่อยอดสู่ภาคประชาชน วานนี้ (19 ตุลาคม 2565) บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สนับสนุนโครงการทดสอบนวัตกรรมโรงไฟฟ้าเสมือน (Virtual Power Plant หรือ VPP) ภายใต้โครงการทดสอบนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการด้านพลังงาน (ERC Sandbox) ระยะที่ 2 โดยใช้รถยนต์มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี ในการจ่ายพลังงานไฟฟ้าจากตัวรถกลับสู่โครงข่ายระบบไฟฟ้า (Vehicle-to-Grid หรือ V2G) โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าของไทย ณ สถาบันการศึกษาและฝึกอบรม…

Read more

กฟผ.โชว์ระบบแบตเตอรี่กักเก็บพลังงานและโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับรับมือความผันผวนพลังงานหมุนเวียน

กฟผ.โชว์ระบบแบตเตอรี่กักเก็บพลังงานและโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับที่ช่วยลดความผันผวนในระบบที่เกิดจากพลังงานหมุนเวียน และลดการนำเข้าLNGราคาแพง เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 65 ที่ผ่านมานายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)คนใหม่ นำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมระบบแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน (Battery Energy Storage System : BESS) ณ สถานีไฟฟ้าแรงสูงชัยบาดาล จ.ลพบุรี และโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับลำตะคองชลภาวัฒนา จ.นครราชสีมา เพื่อชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของการลงทุนที่ช่วยลดความผันผวนในระบบไฟฟ้าที่มาจากพลังงานหมุนเวียนทั้งพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ที่ผลิตไฟฟ้าได้เป็นบางช่วงเวลา โดยปัจจุบัน กฟผ.มีการลงทุนระบบ BESS เป็นโครงการนำร่องที่เริ่มใช้งานแล้วทั้งหมดขนาด 37 เมกะวัตต์-ชั่วโมง ( MWh )​ที่ถือว่ามีขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ แยกเป็นจุดที่สถานีไฟฟ้าแรงสูงชัยบาดาล จ.ลพบุรี ขนาด 21 MWh ที่พาคณะสื่อมวลชนมาเยี่ยมชม และอีก 16…

Read more

เทคโนโลยี “พลังงานหมุนเวียน” ก้าวหน้าอีกขั้น เมื่อสแตนฟอร์ดพัฒนา “แผงโซลาร์เซลล์” ที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ในเวลากลางคืน

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาไม่มีแผงโซลาร์เซลล์ที่ผลิตไฟฟ้าได้ในตอนกลางคืนเลย แต่การวิจัยชิ้นใหม่จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา แสดงให้เห็นถึงโอกาสในการเก็บเกี่ยวพลังงานหมุนเวียนอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ได้แม้ในยามที่พระอาทิตย์ไม่สาดส่อง นักวิจัยจากสแตนฟอร์ดดัดแปลงแผงโซลาร์เซลล์ที่มีจำหน่ายทั่วไปเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจำนวนเล็กน้อยในตอนกลางคืน โดยใช้กระบวนการที่เรียกว่าการระบายความร้อนด้วยการแผ่รังสี ซึ่งอาศัยสุญญากาศในอวกาศที่เย็นยะเยือก แม้ว่าแผงโซลาร์เซลล์มาตรฐานสามารถจ่ายไฟฟ้าได้ในระหว่างวัน แต่อุปกรณ์นี้สามารถทำหน้าที่เป็น “แหล่งพลังงานหมุนเวียนที่ต่อเนื่องสำหรับทั้งกลางวันและกลางคืน เพราะต่อให้แผงโซลาร์เซลล์ที่ดัดแปลงด้วยการเพิ่มเทคโนโลยีบางอย่างลงไปแล้วจะสร้างพลังงานจำนวนเล็กน้อยเมื่อเทียบกับแผงโซลาร์เซลล์สมัยใหม่ที่ทำได้ในตอนกลางวัน แต่พลังงานนั้นยังคงมีประโยชน์อยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืน เมื่อความต้องการพลังงานต่ำกว่ามาก” ตามผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Applied Physics Letters ระบุ เทคโนโลยีดังกล่าวประกอบด้วยเครื่องกำเนิดเทอร์โมอิเล็กทริก ซึ่งสามารถดึงกระแสไฟฟ้าจากความแตกต่างเล็กน้อยของอุณหภูมิระหว่างอากาศแวดล้อมและเซลล์แสงอาทิตย์ ซานฮุย ฟาน ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด “เรามักจะคิดว่าดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญ แต่ความจริงคือความเย็นของอวกาศยังเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญอย่างยิ่ง” ซานฮุย ฟาน ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ผู้เป็นหัวหน้านักวิจัยของโครงการนี้กล่าว ในทางเทคนิค แผงโซลาร์เซลล์ที่ดัดแปลงจะไม่ผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในตอนกลางคืน แทนที่จะใช้ประโยชน์จากแสงแดด (หรือแสงดาวและแสงจันทร์) นักวิจัยได้เพิ่มเทคโนโลยีที่ใช้ประโยชน์จากการระบายความร้อนด้วยการแผ่รังสี เมื่อวัตถุหันเข้าหาท้องฟ้าในตอนกลางคืน มันจะแผ่ความร้อนออกสู่อวกาศ ซึ่งหมายความว่าวัตถุจะเย็นกว่าอุณหภูมิของอากาศรอบๆ ผลกระทบนี้อาจมีการใช้งานที่ชัดเจนในอาคารทำความเย็น แต่ความแตกต่างของอุณหภูมิก็สามารถนำมาใช้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้เช่นกัน ทั้งนี้เมื่อเกือบ 2…

Read more

GC เปิดโรงงาน ENVICCO ผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

GC เปิดเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ เอ็นวิคโค (ENVICCO) โรงงานผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง ระดับ Food Grade แห่งแรกในประเทศไทย ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หวังช่วยลดพลาสติกใช้แล้วในประเทศได้ถึง 60,000 ตัน/ปี ลดก๊าซเรือนกระจก 75,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เท่ากับการปลูกป่าประมาณ 78,000 ไร่ หรือปลูกต้นไม้ใหญ่มากกว่า 8 ล้านต้น ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า วันนี้ GC มีความภูมิใจที่ ENVICCO พร้อมดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว โดยใช้วัตถุดิบทั้งหมด 100% เป็นพลาสติกใช้แล้วในประเทศ ผ่านเทคโนโลยีการผลิตที่ล้ำสมัย เพื่อคืนคุณค่าให้กับพลาสติกใช้แล้วให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าอีกครั้ง…

Read more

ทรินา โซลาร์เปิดตัวแผงโซลาร์เซลล์รุ่นใหม่ในงาน ASEAN Sustainable Energy Week งานแสดงเทคโนโลยีด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม

ทรินา โซลาร์ ผู้ให้บริการโซลูชั่นแบบครบวงจรด้านเซลล์แสงอาทิตย์และพลังงานอัจฉริยะชั้นนำของโลก ประกาศเปิดตัวแผงโซลาร์เซลล์รุ่น Vertex DE19R อย่างเป็นทางการที่งาน ASEAN Sustainable Energy Week กรุงเทพฯ ที่จัดขึ้นในวันที่ 14 -16 กันยายน ทอดด์ ลี ประธานบริษัทของทรินา โซลาร์ ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกกล่าวว่า "ในฐานะ แบรนด์แผงโซลาร์เซลล์แรก ๆ ที่เข้ามาในประเทศไทย ทรินา โซลาร์ได้ทุ่มเทและให้ความสำคัญกับตลาดไทยมาตลอดสิบปี" "เราได้มาร่วมแสดงในงาน ASEAN Sustainable Energy Week ที่กรุงเทพฯ เนื่องจากตลาดไทยเป็นตลาดที่เติบโตอย่างต่อเนื่องและมีความสำคัญอย่างมากต่อทรินา โซลาร์ เราเป็นแบรนด์ที่ติดสามอันดับแรกในตลาดไทยเสมอ และต้องขอบคุณพันธมิตรธุรกิจในไทยทุกรายอย่างมาก ที่ทำให้เราครองอันดับนี้ได้" แผงโซลาร์เซลล์รุ่น Vertex…

Read more

5 นวัตกรรม แหล่งพลังงานทดแทน แห่งโลกอนาคต กับการต่อยอดเป็นพลังงานที่ยั่งยืนของไทย

ที่ผ่านมา มีการคาดการณ์มาตลอดว่าแหล่งพลังงานที่มนุษย์คุ้นเคยและใช้กันมา เช่น พลังงานเชื้อเพลิงธรรมชาติ ก๊าซ ปิโตรเลียม ถ่านหิน และนิวเคลียร์ จะค่อยๆหมดไป เพราะพลังงานเหล่านี้จัดอยู่ในกลุ่ม ใช้ไป หมดไป ด้วยเหตุนี้ กระแสการประหยัดพลังงานไปจนถึงการหานวัตกรรม แหล่งพลังงานทดแทน จึงเกิดขึ้นและมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เพื่ออัปเดตถึงนวัตกรรม แหล่งพลังงานทดแทน แห่งโลกอนาคต ที่มาแรง และทั่วโลกให้การตอบรับ Facebook : PTT Group Rayong ได้เผยแพร่บทความเรื่อง “5 แหล่งพลังงานแห่งโลกอนาคต” ที่บอกเล่าถึงความพยายามในการคิดค้นวิธีลดปริมาณการใช้พลังงาน ตลอดจนการหาแหล่งพลังงานทดแทนพลังงานเดิมที่จะหมดไปในอนาคต ซึ่ง แหล่งพลังงานทดแทน ที่น่าสนใจและมาแรงที่ควรค่าแก่การทำความรู้จักและเรียนรู้มี 5 ชนิด แหล่งพลังงานทดแทน มาแรง 5 ชนิด ติดสปีดให้โลกอนาคต พลังงานชีวภาพจากสาหร่าย –…

Read more

มาทำความรู้จักยานยนต์ไฟฟ้า (EVs) ก่อนจะเลือกใช้งาน ?

เชื่อกันว่าหลายคนที่กำลังจับจ้องมองหา รถยนต์ไฟฟ้า หรือ EVs เพื่อใช้เป็นยานพาหนะคู่ใจคันต่อไป ซึ่งปัจจุบันค่ายรถยนต์ชั้นนำได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ ยานยนต์ไฟฟ้า กันหลายรุ่นให้ได้เลือกใช้งาน ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จัก ยานยนต์ไฟฟ้าในเบื้องต้นกันก่อน รถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอิน (หรือที่เรียกว่ารถยนต์ไฟฟ้าหรือ EV) มีความสามารถที่แตกต่างกันซึ่งสามารถรองรับความต้องการของผู้ขับขี่ที่แตกต่างกัน คุณสมบัติหลักของ EV คือผู้ขับขี่สามารถเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จจากแหล่งพลังงานไฟฟ้าภายนอก สิ่งนี้ทำให้พวกมันแตกต่างจากรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดซึ่งเสริมเครื่องยนต์สันดาปภายในด้วยพลังงานแบตเตอรี่ แต่ไม่สามารถเสียบปลั๊กเพื่อชาร์ทไฟฟ้าได้ Pic 1 : All-Electric Vechicle EV มีสองประเภทพื้นฐาน ได้แก่ รถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด (all-electric vehicles; AEVs) และ รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (plug-in hybrid electric vehicles; PHEV) AEV ยังแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักคือ รถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicles; BEVs) และรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel…

Read more

การจัดเก็บพลังงานขั้นสูง(ADVANCED ENERGY STORAGE TECHNOLOGY) โดยความร่วมมือของ General Motors กับ Honda Energy

ภาพภายใต้ฝากระโปรงรถ Chevy Volt 2016 ที่แสดงให้เห็นระบบไฟฟ้าไฮบริดผสานกับการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ยังต้องการการพัฒนาเทคโนโลยีการจัดเก็บพลังงาน (ที่มาของรูปภาพ website : solarthermalmagazine) เทคโนโลยีการจัดเก็บพลังงานขั้นสูงของ Tesla Motors! การพัฒนาเครื่องยนต์เผาไหม้ภายในไม่จำเป็นต้องพึ่งพาแหล่งเชื้อเพลิงหรือพลังงานที่เปลี่ยนแปลงได้อีกต่อไป Henry Ford ได้ออกแบบต้นแบบเครื่องยนต์โดยการใช้น้ำมันถั่วลิสงเป็นครั้งแรก แต่ในที่สุดก็อาจต้องปล่อยโครงการดังกล่าวทิ้งไว้เพื่อใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ให้พลังงานสูงกว่า อย่างรถยนต์ไฟฟ้าก็ยังต้องพึ่งพาการพัฒนาแบตเตอรี่ขั้นสูงหรือเทคโนโลยีการจัดเก็บพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อการใช้งานรถยนต์ในอนาคต บริษัท Tesla Motors ถือเป็นผู้เริ่มต้นการออกแบบและผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ทว่าก็ยังมีบริษัทผลิตรถยนต์หลายบริษัทพยายามที่จะพัฒนาและผลิตแบตเตอรี่ด้วยตนเอง โดยล่าสุดบริษัท General Motors ได้ร่วมมือกับทาง Honda Energy โดยประกาศกลยุทธ์เกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งเป็นข้อตกลงเพื่อการออกแบบ พัฒนา และผลิตส่วนประกอบแบตเตอรี่เคมี รวมไปถึงเซลล์และโมดูลเพื่อเร่งรัดแผนการดำเนินงานของทั้งสองบริษัทเพื่อการใช้แบตเตอรี่สำหรับยานพาหนะระบบไฟฟ้าทุกประเภท โดยแบตเตอรี่รุ่นใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยสองบริษัทนี้จะให้พลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น มีขนาดที่เล็กลง และสามารถชาร์จไฟได้เร็วขึ้น เพื่อรองรับตลาดแถบทวีปอเมริกาเหนือ วิวัฒนาการของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า Chevy…

Read more
Back To Top