skip to Main Content

ไทยใช้ไฟฟ้าพุ่งทุบสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์รอบ 3 ขณะพีคไฟฟ้าของปี 2567 เกิดรวม 10 ครั้ง จำนวนมากที่สุดในรอบ 8 ปี

ร้อนทะลุพีคอีกครั้ง ไทยทำสถิติใช้ไฟฟ้าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งที่ 3 เมื่อช่วงค่ำวันที่ 29 เม.ย. 2567 เวลา 21.00 น. ยอดพีคพุ่ง 36,699 เมกะวัตต์ และยังนับเป็นจำนวนพีคไฟฟ้ารอบที่ 10 ที่เกิดในปี 2567 ซึ่งมากที่สุดในรอบ 8 ปี นับจากปี 2559 ที่เคยมีจำนวนพีคมากสุด 7 ครั้ง ท่ามกลางอุณหภูมิสูงสุด 44 องศาเซลเซียส มีโอกาสเกิดพีคไฟฟ้าในวันที่ 30 เม.ย. 2567 อีกครั้ง หากไม่มีฝนมาช่วย ด้านกระทรวงพลังงานติดตามสำรองไฟฟ้าใกล้ชิด ยืนยันไฟฟ้ามีเพียงพอ เหลือสำรองไฟฟ้าถึง 25.8%    ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน…

Read more

เอลนีโญ พ่นพิษส่งท้าย เม.ย. ร้อนจัดจับตา 1-2 วันนี้ จ่อพีคไฟฟ้าทุบสถิติประเทศรอบ 3 หลังผ่านพีคสูงสุด 36,356 เมกะวัตต์ ไปเมื่อ 27 เม.ย. 2567

เอลนีโญ ส่งท้ายเดือน เม.ย. อากาศร้อนที่สุด 29-30 เม.ย. 2567 แตะ 44 องศาเซลเซียส พลังงานคาดยอดการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) เป็นประวัติการณ์ยังมีโอกาสเกิดขึ้นอีก แม้สุดสัปดาห์ที่ผ่านมาพีคไฟฟ้าสูงสุดทำลายสถิติประเทศรอบ 2 จะเกิดขึ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2567 ช่วงค่ำ 20.57 น. ประชาชนใช้ไฟฟ้าพุ่งทะลุ 36,356 เมกะว้ตต์ แต่หากอากาศยังร้อนสะสม ไม่มีฝนมาช่วย สถิติพีคไฟฟ้าใหม่อาจเกิดขึ้นอีก ชี้แค่ช่วงกลางวัน 29 เม.ย. 2567 ยอดใช้ไฟฟ้าพุ่งไปถึง 34,728 เมกะวัตต์แล้ว    ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน (Energy News Center…

Read more

การปรับปรุงประสิทธิภาพในฤดูหนาว: การจัดการอินเวอร์เตอร์ในสภาพอากาศหนาวเย็น

บทความเชิงเทคนิคจาก Solis การปรับปรุงประสิทธิภาพในฤดูหนาว: การจัดการอินเวอร์เตอร์ในสภาพอากาศหนาวเย็น บทนำ ฤดูหนาวเป็นฤดูกาลที่ท้าทายสำหรับระบบโซลาร์เซลล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอินเวอร์เตอร์ ซึ่งจากการสัมมนาล่าสุดของ Solis ผู้เชี่ยวชาญได้แบ่งปันข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพของอินเวอร์เตอร์ในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศหนาวเย็น ผลกระทบของอุณหภูมิต่ำต่อการทำงานของอินเวอร์เตอร์ ความผันผวนของแรงดันไฟฟ้า อุณหภูมิที่ต่ำจะเพิ่มแรงดันไฟฟ้าแบบเปิดวงจร (Open Circuit Voltage) ของแผงโซลาร์เซลล์ ส่งผลให้แรงดันไฟฟ้าของระบบอินเวอร์เตอร์สูงขึ้น การสัมผัสกับแรงดันสูงเป็นเวลานานส่งผลต่ออุปกรณ์สวิตชิ่งของอินเวอร์เตอร์ ซึ่งส่งผลต่ออายุการใช้งานและความน่าเชื่อถือ ในสภาวะอุณหภูมิต่ำ แรงดันไฟฟ้าของสาย PV อาจเกินช่วงแรงดันไฟฟ้าเข้าของอินเวอร์เตอร์ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาได้ อุปกรณ์ที่ไวต่ออุณหภูมิ ชิ้นส่วนภายในของอินเวอร์เตอร์ อาทิเช่น IGBT, DSP, คาปาซิเตอร์ ฯลฯ มีช่วงอุณหภูมิเฉพาะสำหรับการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด การทำงานนอกเหนือจากช่วงอุณหภูมิเหล่านี้อาจส่งผลต่ออายุการใช้งานและความน่าเชื่อถือของอินเวอร์เตอร์ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็วอันเกิดจากอุณหภูมิที่ต่ำสามารถสร้างความเครียดให้กับชิ้นส่วนเหล่านี้ และส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพได้ ความเครียดจากอุณหภูมิที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิสูงและต่ำอย่างต่อเนื่องจะนำไปสู่การลดลงของคุณสมบัติทางกายภาพหรือเคมีของวัสดุและอุปกรณ์ของอินเวอร์เตอร์ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานหรืออายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ การทำงานของพัดลม อินเวอร์เตอร์ที่มีกำลังไฟฟ้าสูงจะใช้พัดลมภายนอกเพื่อระบายความร้อน…

Read more

ร้อนไม่เว้นวันหยุด พีคไฟฟ้าพุ่งรอบที่ 3 ของปี 2566 ถึง 32,963 เมกะวัตต์ จ่อทุบสถิติใหม่ของประเทศ

อากาศร้อนสุดขีดต่อเนื่องช่วงวันหยุดนักขัตฤกษ์ 6 เม.ย. 2566 ดันยอดใช้ไฟฟ้าไทยพุ่งทำลายสถิติสูงสุดของปี 2566 เป็นรอบที่ 3 เกิดพีคไฟฟ้าแตะระดับ 32,963  เมกะวัตต์  ในช่วงค่ำ เวลา 20.52 น. ท่ามกลางอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 38-41 องศาเซลเซียส ด้านสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) คาดพีคไฟฟ้าจะพุ่งทุบสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ได้เกิน 34,000 เมกะวัตต์  หากอากาศยังคงร้อนสะสมต่อเนื่อง   ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน (Energy News Center – ENC) รายงานว่า เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2566 ซึ่งเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ แต่ยอดการใช้ไฟฟ้าของไทยกลับพุ่งสูงสุดทำสถิติใหม่ของปี 2566 อีกครั้ง โดยเกิดยอดการใช้ไฟฟ้าสูงสุด หรือ…

Read more

ผสานรวมเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์และสุนทรียะในงานสถาปัตยกรรมเข้ากับโมดูล Hi-MO 6

พลังงานแสงอาทิตย์ถือเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่เติบโตมากเป็นอันดับต้น ๆ ในด้านการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ โดยได้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าทั่วโลกในอนาคต การอัปเกรดเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ ประกอบกับสถานการณ์การใช้งานที่เพิ่มขึ้น เป็นผลทำให้แผงพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับการติดตั้งบนหลังคาบ้านเรือน อาคารพาณิชย์และโรงงานอุตสาหกรรม มีศักยภาพอย่างมหาศาล โดยนักวิเคราะห์ในอุตสาหกรรมนี้ระบุว่าการใช้งานผลิตภัณฑ์แผงพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบดังกล่าว คิดเป็นสัดส่วน 47.9% ของกำลังการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งใหม่ทั่วโลกในปี พ.ศ. 2564 โดยในจำนวนนี้มีผู้ใช้งานกลุ่มที่อยู่อาศัยคิดเป็นสัดส่วน 26% ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาห้าปีติดต่อกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการของผู้ใช้พลังงาน ทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ LONGi จึงได้ทำการสำรวจผู้ใช้งานปลายทางหลายพันคนในช่วงสองปีที่ผ่านมา จนได้ข้อสรุปว่าท้ายที่สุดแล้วพวกเขากำลังมองหาผลิตภัณฑ์ที่ผสมผสานประสิทธิภาพและความปลอดภัยเข้ากับสุนทรียศาสตร์ทางสถาปัตยกรรมอย่างลงตัวโดยผลลัพธ์ที่ได้ก็คือการถือกำเนิดขึ้นของ Hi-MO 6 ซึ่งเป็นแผงพลังงานแสงอาทิตย์ตัวแรกที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับตลาดผู้บริโภคกลุ่มที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์และโรงงานอุตสาหกรรมทั่วโลก โดยใช้เทคโนโลยี HPBC (Hybrid Passivation Back Contact) ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งนี้ Hi-MO 6 ยังคงไว้ซึ่งเวเฟอร์ขนาด M10 (182…

Read more

พลังงานเร่งเปิดให้มีการประชุม กบง.7 มี.ค.และ กพช.10 มี.ค.2566 ให้ทันก่อนยุบสภาฯ เพื่อพิจารณามาตรการต่อเนื่องด้านราคา LPG, NGV และไฟฟ้า

กระทรวงพลังงาน เร่งเปิดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) 7 มี.ค. 2566 และการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) 10 มี.ค. 2566 ก่อนรัฐบาลประกาศยุบสภาฯ เพื่อให้มาตรการต่างๆ ที่จะสิ้นสุดอายุในเดือน มี.ค. 2566 เดินหน้าได้ต่อเนื่อง ทั้งราคา LPG สำหรับประชาชนทั่วไปและ LPG สำหรับผู้มีรายได้น้อย, ราคาก๊าซ NGV ,ส่วนลดค่าไฟฟ้า รวมถึงเรื่องที่ยังค้างอยู่ เช่น อัตราค่าไฟฟ้าสีเขียว, เปิดเสรีธุรกิจก๊าซระยะที่ 2 ,แผนพลังงานแห่งชาติและแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าระยะยาวประเทศ (PDP)   ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน (Energy News Center-ENC) รายงานว่า หลังจากรัฐบาลประกาศเตรียมยุบสภาผู้แทนราษฎรในเดือน มี.ค. 2566 นี้…

Read more

กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม ของ ญี่ปุ่น เยี่ยมชมเหมืองแม่เมาะ กฟผ. ดูความเป็นไปได้ของการเป็นพื้นที่กักเก็บคาร์บอน

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ โดยนายศุภลักษณ์ พาฬอนุรักษ์ รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดย นายนิทัศน์ วรพนพิพัฒน์ รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง นายประจวบ ดอนคำมูล ผู้ช่วยผู้ว่าการเหมืองแม่เมาะ และบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) ร่วมต้อนรับคณะผู้แทนกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น นำโดย Mr. Izuru Kobayashi รองอธิบดีฝ่ายนโยบายระหว่างประเทศด้านความเป็นกลางทางคาร์บอน (Deputy Director-General for International Policy on Carbon Neutrality) เยี่ยมชมการดำเนินงานผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. แม่เมาะ และร่วมประชุมหารือศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ในพื้นที่เหมืองแม่เมาะ เพื่อความร่วมมือด้านพลังงานและการผลักดันประเทศก้าวสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เมื่อวันที่…

Read more

ลอนจี เผยแนวโน้มตลาดและข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ Hi-MO 6 แก่ลูกค้าผู้มีอุปการคุณในประเทศไทย

ลอนจี ผู้ผลิตเทคโนโลยีโซลาร์เซลล์ชั้นนำของโลก ได้จัดงานขอบคุณลูกค้า ณ โรงแรมรอยัล ออคิด เชอราตัน เพื่อนำเสนอแนวโน้มตลาดที่สำคัญและข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับ Hi-MO 6 ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ออกแบบโดยเฉพาะเพื่อตอบโจทย์ตลาดผู้บริโภคได้ทั่วโลก Hi-MO 6 ของ ลอนจี ประกอบด้วย 4รุ่น ได้แก่ Explorer, Scientist, Guardian และ Artist ซึ่งทั้งหมดอยู่ในขนาดมาตรฐาน M10 (182 มม.) และมีให้เลือกในประเภท 72เซลล์ และ 54 เซลล์ ด้วยรูปลักษณ์ที่สวยงามของโมดูลนี้เอง จะช่วยสร้างสรรค์ให้เกิดการออกแบบในเชิงอุตสาหกรรมที่มีความทันสมัยในสไตล์มินิมอลได้ ซึ่งนอกเหนือจากรุ่น Guardian ที่มีเซนเซอร์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพที่ติดตั้งรองรับไว้ให้แล้ว Hi-MO 6 ทุกรุ่น…

Read more

กกพ.รับทราบค่าไฟฟ้างวดม.ค.-เม.ย.66 พุ่งเป็น 5.37-6.03 บาทต่อหน่วย

กกพ.รับทราบ 3 แนวทางปรับขึ้นค่าไฟฟ้าเอฟที งวด ม.ค.-เม.ย.66 ทำค่าไฟรวมเฉลี่ยต้องปรับขึ้นเป็น 5.37- 6.03 บาทต่อหน่วย จากงวด​ก่อนหน้าที่เฉลี่ย​อยู่ที่​4.72​บาท​ต่อ​หน่วย​ต้นทุนก๊าซที่เป็นเชื้อเพลิงหลักผลิตไฟฟ้าพุ่งสูง 17 % ในขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่อ่อนตัว แจงหากเลือกปรับขึ้นค่าไฟเป็น 5.37 บาทต่อหน่วย กฟผ.จะต้องแบกหนี้หนักแทนประชาชนเพิ่มเป็น122,257 ล้านบาท นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า กกพ. ในการประชุมครั้งที่ 51/2565 (ครั้งที่ 818) เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 มีมติรับทราบภาระต้นทุนค่าเอฟทีประจำรอบ พ.ค. – ส.ค. 2565 และเห็นชอบผลการคำนวณประมาณค่าเอฟทีสำหรับงวดเดือน ม.ค.…

Read more

พลังงานเตรียมแจกของขวัญปีใหม่ ตรึงค่าไฟฟ้างวดแรกต้นปี 2566 ที่ 4.72 บาท/หน่วย

สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ จัดเสวนา “ฝ่าวิกฤติพลังงานโลก ทางรอดพลังงานไทย” ท่ามกลางวิกฤติราคาพลังงานแพง ปลัดพลังงานระบุเตรียมเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เดือน พ.ย. 2565  ให้ของขวัญปีใหม่ประชาชน โดยออกมาตรการบรรเทาผลกระทบราคาพลังงาน พร้อมตรึงค่าไฟฟ้างวดแรกปี 2566 (ม.ค.-เม.ย.) ไว้ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย ยืนยันดูแลผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วย และ 500 หน่วยต่อไป พร้อมเผยแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าระยะยาวของประเทศ (PDP) ฉบับใหม่ มุ่งส่งเสริมไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 10,900 เมกะวัตต์ วันนี้ 27 ต.ค. 2565 สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ จัดเสวนา “ฝ่าวิกฤติพลังงานโลก ทางรอดพลังงานไทย” โดยมีนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน นางสาวสมฤดี พู่พรอเนก รองอธิบดีกรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ และนักแสดงชั้นนำ แพนเค้ก-เขมนิจ จามิกรณ์ ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน บรรยายในหัวข้อ “ถอดบทเรียนวิกฤติพลังงานโลก สะเทือนถึงไทย” ว่าตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้นมากจากปัจจัยภายนอกประเทศ ซึ่งกระทรวงพลังงานเข้าไปดูแลทั้งค่าไฟฟ้า,ราคาดีเซลไม่ให้เกิน 35 บาทต่อลิตร และปัจจุบันยังตรึงราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ไว้ที่ 408 บาทต่อถังขนาด 15 กิโลกรัม โดยใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปชดเชยราคา  อย่างไรก็ตามหลังจากนี้กระทรวงพลังงานได้เตรียมมาตรการหลายด้านเพื่อดูแลราคาพลังงานในประเทศ โดยจะพยุงอัตราค่าไฟฟ้าระหว่างไตรมาส 4 ปี 2565 ถึง ไตรมาส 1 ของปี 2566 ให้อยู่ในอัตราไม่เกิน 4.72 บาทต่อหน่วย เพื่อลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันที่ระดับ 100 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล โดยหากราคาก๊าซธรรมชาติเหลว ( LNG ) สูงเกิน 25 เหรียญสหรัฐฯต่อล้านบีทียู ก็จะให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) และโรงไฟฟ้าเอกชน หันไปใช้น้ำมันดีเซลเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าทดแทนก๊าซฯ ซึ่งคาดว่าจะใช้ดีเซล ประมาณ200-300 ล้านลิตร  รวมถึงขยายระยะเวลาปลดระวางโรงไฟฟ้าแม่เมาะ(ถ่านหิน) โรงที่ 8 ที่ได้หมดอายุไปเมื่อวันที่ 31 ธ.ค.2564 ให้ยืดอายุต่อไปอีก 2 ปี ทำให้มีกำลังผลิตไฟฟ้าเข้าระบบเพิ่มประมาณ 300 เมกะวัตต์ ในอัตราประมาณ 2-3 บาทต่อหน่วยและยังมีแผนให้นำโรงไฟฟ้าแม่เมาะ โรงที่ 4 ที่ปลดระวางไปแล้ว กลับมาเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเข้าระบบอีกครั้ง ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างศึกษารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) คาดว่าจะมีความชัดเจนใน 2-3 เดือนข้างหน้า โดยจะมีกำลังผลิตไฟฟ้าเข้าระบบอีก 200 เมกะวัตต์  นอกจากนี้จะต้องเร่งการผลิตก๊าซฯ จากแหล่งในประเทศ ทั้งการเร่งเพิ่มกำลังผลิตก๊าซฯ แหล่งเอราวัณ และเพิ่มการผลิตก๊าซฯแหล่งอื่นๆ ตลอดจนการจัดซื้อก๊าซฯจากประเทศเมียนมาเพิ่มเติมทั้งแหล่งซอติก้า และยาดานา รวมถึงซื้อก๊าซฯเพิ่มจากองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย หรือ MTJA รวมทั้งการรับซื้อไฟฟ้าพลังน้ำจาก สปป.ลาวเพิ่มเติม “กระทรวงพลังงาน เตรียมจัดทำของขวัญปีใหม่ให้คนไทย โดยจะเสนอในการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ( กพช.) ในเดือน พ.ย. 2565 นี้ เพื่อพิจารณาทั้งเรื่องของราคาก๊าซหุงต้ม ( LPG) และค่าไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งในส่วนของค่าไฟฟ้า ยังจะดูแลกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วย และ 500 หน่วยต่อไป รวมถึงจะมีมาตรการเสริมสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วไปด้วย” นอกจากนี้จะส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า(EV) เพื่อลดการใช้น้ำมัน ซึ่งจากข้อมูลช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 ยอดซื้อรถ EV เพิ่ม 223% หรือ อยู่ที่ 13,298 คัน ซึ่งคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ด EV) ก็อยู่ระหว่างจัดทำมาตรการสนับสนุนให้เกิดการลงทุนผลิตแบตเตอรี่ในประเทศ เพื่อลดต้นทุนรถ EV ให้ประชาชนเข้าถึงรถ EVได้ง่ายขึ้น รวมถึงดูแลเรื่องของการจัดทำระบบชาร์จไฟฟ้าที่บ้าน เพื่ออำนวยความสะดวก ขณะเดียวกัน 3 การไฟฟ้า คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) , การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ( PEA) ก็ได้เร่งประสานงานจัดทำเรื่องข้อมูลเชื่อมโยงการใช้แอปพลิเคชันรองรับการใช้งานรถ EV ที่หลากหลายยี่ห้อให้สามารถเชื่อมฐานข้อมูลทั้งระบบ และในช่วงกลางปี 2566 กฟผ.จะเริ่มจัดทำระบบชำระค่าบริการชาร์จไฟฟ้าของรถ EV ที่ชำระร่วมกันได้  พร้อมกันนี้กระทรวงพลังงานจะเร่งส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เข้าสู่ระบบตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าระยะยาวของประเทศ หรือ PDP  ฉบับใหม่ รวมกว่า 10,900 เมกะวัตต์ ซึ่งจะมีการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ถึง6,000 เมกะวัตต์ โดยแบ่งเป็นโซลาร์ลอยน้ำในเขื่อนของ กฟผ. 2,700 เมกะวัตต์ ,โซลาร์ฟาร์ม 3,000 เมกะวัตต์ ,โซลาร์รูฟท็อป 300 เมกะวัตต์  นอกจากนี้จะมีการผลิตไฟฟ้าพลังงานลม 1,500 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นจากเดิมที่เคยกำหนดไว้เพียง 500 เมกะวัตต์ ,ชีวมวลและก๊าซชีวภาพ 800 เมกะวัตต์​, ขยะอีก  600 เมกะวัตต์​ แบ่งเป็นขยะชุมชน 400 เมกะวัตต์ และขยะอุตสาหกรรม200 เมกะวัตต์ และไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ 2,000 เมกะวัตต์   ดังนั้น การรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่จะเข้าสู่ระบบเพิ่มขึ้นกว่า 10,000 เมกะวัตต์ในอนาคต ภาครัฐจำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบส่งไฟฟ้าให้ทันสมัย ทำเรื่องสมาร์ทกริด และสมาร์ทมิเตอร์ ให้พร้อมรองรับเรื่องของพลังงานหมุนเวียน และรถ EV ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต  สำหรับความคืบหน้าการกู้เงินของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง หลังจากกระทรวงการคลัง ได้เข้ามาค้ำประกันเงินกู้วงเงิน150,000 ล้านบาท ตามกำหนดระยะเวลา 1 ปี (6 ต.ค. 2565-5ต.ค.2566) นั้น ทางสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง( สกนช.) ได้จัดทำรายละเอียดการใช้เงิน และแผนชำระหนี้มาเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)แล้ว คาดว่า จะออกประกาศเชิญชวนให้สถาบันการเงินร่วมเสนอเงินกู้ได้ต้นเดือน พ.ย. 2565 นี้ และน่าจะได้รับเงินกู้ก้อนแรกในเดือน พ.ย. 2565 นี้ เช่นกัน เบื้องต้นแผนเงินกู้จะเป็นการทยอยกู้เงิน 12 งวด โดย 1-2 งวดแรก วงเงินอยู่ที่ 30,000 ล้านบาท งวดต่อไปวงเงิน20,000 ล้านบาท แต่จะต้องกู้เงินให้เสร็จตามระยะเวลาเงื่อนไข 1 ปี แต่ในส่วนของการชำระเงินกู้ยังดำเนินการไปต่อเนื่อง ซึ่งในอดีตที่เคยกู้เงิน 70,000 ล้านบาท จะใช้เวลาชำระคืนประมาณ 3-4 ปี  สำหรับราคาน้ำมันดิบในไตรมาส 3 และ 4 ปี 2565 นี้ คาดว่าจะปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 95-98 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล แต่ในช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค.นี้ น้ำมันดิบยังมีความต้องการใช้สูงขึ้น เพราะเข้าสู่ช่วงฤดูหนาวในต่างประเทศทำให้ราคาพลังงานในช่วงปลายปียังมีความเสี่ยงด้านราคา โดยประเมินว่า ช่วงไตรมาส 4 ปี 2565 นี้ ราคาก๊าซLNG จะปรับขึ้นไปอยู่ที่ประมาณ 40-50 เหรียญสหรัฐฯต่อล้านบีทียู ขณะที่ดูราคา spot LNG เดือน ธ.ค.นี้ คาดว่า จะอยู่ที่ 30 เหรียญสหรัฐฯต่อล้านบีทียู ขณะที่ มอร์แกน สแตนเลย์ คาดการณ์ปี 2566 ราคา LNG จะอยู่ที่ 39 เหรียญสหรัฐฯต่อล้านบีทียู และไตรมาส 2 จะปรับขึ้นไปแตะ 50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อล้านบีทียู ซึ่งสอดคล้องกับการประเมินของกลุ่มปริซึม ปตท. (PTT PRISM) มองว่า จะอยู่ประมาณ 39 เหรียญสหรัฐฯ ต่อล้านบีทียู  ทั้งนี้กระทรวงพลังงาน ประเมินว่า หากราคาน้ำมันดิบในปี 2566 อยู่ที่ระดับ 100-110 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ยังเป็นระดับที่บริหารจัดการได้ เพราะปัจจุบัน กองทุนน้ำมันฯ ก็ใช้เงินเข้าไปพยุงราคาดีเซล ประมาณ 2-3 บาทต่อลิตรเพื่อไม่ให้ราคาขายปลีกเกิน 35 บาทต่อลิตร จากก่อนหน้านี้ ที่ต้องเข้าไปพยุงถึง 14 บาทต่อลิตร ในช่วงที่ราคาน้ำมันดิบแตะระดับ 150 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล  นายกุลิศ กล่าวว่า ภาครัฐได้งัดมาตรการเข้ามาดูแลผลกระทบราคาพลังงานอย่างเต็มที่แล้ว แต่สิ่งที่สำคัญคือ คนไทยทุกคนจะต้องตระหนักถึงการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า และต้องเริ่มเรื่องการประหยัดพลังงานอย่างจริงจัง เพราะ ค่าไฟฟ้า จะไม่ใช่ของถูกอีกต่อไป ดังนั้น กลุ่มบ้านอยู่อาศัย ก็ต้องเริ่มการประหยัดตั้งแต่อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น แอร์ และขยายสู่ระดับสาธารณะ เช่น ญี่ปุ่น ที่เปิดแอร์ 28 องศาในอาคาร เป็นต้น แต่ที่สำคัญสถานประกอบการขนาดใหญ่เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงงาน ที่มีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าปริมาณสูงจะต้องมุ่งเรื่องการประหยัดพลังงานอย่างจริงจัง ก็จะช่วยประเทศประหยัดต้นทุนนำเข้าเชื้อเพลิงลงได้   นางสาวสมฤดี พู่พรอเนก รองอธิบดีกรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ความขัดแย้งของรัสเซียและยูเครนที่กินเวลายาวนานมากว่า 8 เดือน และน่าจะยังยืดเยื้อต่อไปอีก ทำให้เกิดวิกฤติพลังงานไปทั่วโลก  โดยทำให้อุปทานลดลง และราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก ส่งผลกระทบต่อเนื่องให้อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกอยู่ในระดับสูง และกระทบภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก เพราะรัสเซียเป็นผู้ส่งออกน้ำมันอันดับ 2 ของโลก และส่งออกก๊าซธรรมชาติ อันดับ 1 ของโลกสำหรับในส่วนของสหภาพยุโรป (อียู) ได้รับผลกระทบอย่างหนักเช่นกัน เพราะพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากรัสเซียในสัดส่วนสูงมาก โดยนำเข้าก๊าซธรรมชาติ สัดส่วน 40% น้ำมัน 27% และถ่านหิน 46% คิดเป็นมูลค่า 3,714 ล้านบาทส่งผลให้ยุโรปต้องออกกฎหมาย และมาตรการต่างๆ เพื่อลดการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซีย ทั้งนี้พลังงานเป็นเรื่องสำคัญมากของยุโรป โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว อียูจึงต้องออกกฎหมาย และมาตรการต่างๆเพื่อช่วยลดผลกระทบให้กับประชาชน และลดการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียให้ได้ โดยตั้งเป้าหมายลดการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียให้ได้ 2 ใน 3 ภายในปีนี้ ล่าสุดเหลือการนำเข้าเพียง 20% แล้ว รวมทั้งส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน และเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนในยุโรปให้ได้ 45% ภายในปี 2573 รวมถึงแสวงหาแหล่งพลังงานจากที่อื่น เพิ่มการสำรองก๊าซธรรมชาติให้ได้ 80% ล่าสุดสำรองเพิ่มได้มากกว่า 85% แล้ว นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ออกมาตรการช่วยเหลือประชาชน เพื่อลดผลกระทบจากราคาพลังงานที่สูงขึ้นด้วย …

Read more
Back To Top