skip to Main Content

ไทยใช้ไฟฟ้าพุ่งทุบสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์รอบ 3 ขณะพีคไฟฟ้าของปี 2567 เกิดรวม 10 ครั้ง จำนวนมากที่สุดในรอบ 8 ปี

ร้อนทะลุพีคอีกครั้ง ไทยทำสถิติใช้ไฟฟ้าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งที่ 3 เมื่อช่วงค่ำวันที่ 29 เม.ย. 2567 เวลา 21.00 น. ยอดพีคพุ่ง 36,699 เมกะวัตต์ และยังนับเป็นจำนวนพีคไฟฟ้ารอบที่ 10 ที่เกิดในปี 2567 ซึ่งมากที่สุดในรอบ 8 ปี นับจากปี 2559 ที่เคยมีจำนวนพีคมากสุด 7 ครั้ง ท่ามกลางอุณหภูมิสูงสุด 44 องศาเซลเซียส มีโอกาสเกิดพีคไฟฟ้าในวันที่ 30 เม.ย. 2567 อีกครั้ง หากไม่มีฝนมาช่วย ด้านกระทรวงพลังงานติดตามสำรองไฟฟ้าใกล้ชิด ยืนยันไฟฟ้ามีเพียงพอ เหลือสำรองไฟฟ้าถึง 25.8%    ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน…

Read more

เอลนีโญ พ่นพิษส่งท้าย เม.ย. ร้อนจัดจับตา 1-2 วันนี้ จ่อพีคไฟฟ้าทุบสถิติประเทศรอบ 3 หลังผ่านพีคสูงสุด 36,356 เมกะวัตต์ ไปเมื่อ 27 เม.ย. 2567

เอลนีโญ ส่งท้ายเดือน เม.ย. อากาศร้อนที่สุด 29-30 เม.ย. 2567 แตะ 44 องศาเซลเซียส พลังงานคาดยอดการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) เป็นประวัติการณ์ยังมีโอกาสเกิดขึ้นอีก แม้สุดสัปดาห์ที่ผ่านมาพีคไฟฟ้าสูงสุดทำลายสถิติประเทศรอบ 2 จะเกิดขึ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2567 ช่วงค่ำ 20.57 น. ประชาชนใช้ไฟฟ้าพุ่งทะลุ 36,356 เมกะว้ตต์ แต่หากอากาศยังร้อนสะสม ไม่มีฝนมาช่วย สถิติพีคไฟฟ้าใหม่อาจเกิดขึ้นอีก ชี้แค่ช่วงกลางวัน 29 เม.ย. 2567 ยอดใช้ไฟฟ้าพุ่งไปถึง 34,728 เมกะวัตต์แล้ว    ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน (Energy News Center…

Read more

การปรับปรุงประสิทธิภาพในฤดูหนาว: การจัดการอินเวอร์เตอร์ในสภาพอากาศหนาวเย็น

บทความเชิงเทคนิคจาก Solis การปรับปรุงประสิทธิภาพในฤดูหนาว: การจัดการอินเวอร์เตอร์ในสภาพอากาศหนาวเย็น บทนำ ฤดูหนาวเป็นฤดูกาลที่ท้าทายสำหรับระบบโซลาร์เซลล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอินเวอร์เตอร์ ซึ่งจากการสัมมนาล่าสุดของ Solis ผู้เชี่ยวชาญได้แบ่งปันข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพของอินเวอร์เตอร์ในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศหนาวเย็น ผลกระทบของอุณหภูมิต่ำต่อการทำงานของอินเวอร์เตอร์ ความผันผวนของแรงดันไฟฟ้า อุณหภูมิที่ต่ำจะเพิ่มแรงดันไฟฟ้าแบบเปิดวงจร (Open Circuit Voltage) ของแผงโซลาร์เซลล์ ส่งผลให้แรงดันไฟฟ้าของระบบอินเวอร์เตอร์สูงขึ้น การสัมผัสกับแรงดันสูงเป็นเวลานานส่งผลต่ออุปกรณ์สวิตชิ่งของอินเวอร์เตอร์ ซึ่งส่งผลต่ออายุการใช้งานและความน่าเชื่อถือ ในสภาวะอุณหภูมิต่ำ แรงดันไฟฟ้าของสาย PV อาจเกินช่วงแรงดันไฟฟ้าเข้าของอินเวอร์เตอร์ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาได้ อุปกรณ์ที่ไวต่ออุณหภูมิ ชิ้นส่วนภายในของอินเวอร์เตอร์ อาทิเช่น IGBT, DSP, คาปาซิเตอร์ ฯลฯ มีช่วงอุณหภูมิเฉพาะสำหรับการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด การทำงานนอกเหนือจากช่วงอุณหภูมิเหล่านี้อาจส่งผลต่ออายุการใช้งานและความน่าเชื่อถือของอินเวอร์เตอร์ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็วอันเกิดจากอุณหภูมิที่ต่ำสามารถสร้างความเครียดให้กับชิ้นส่วนเหล่านี้ และส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพได้ ความเครียดจากอุณหภูมิที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิสูงและต่ำอย่างต่อเนื่องจะนำไปสู่การลดลงของคุณสมบัติทางกายภาพหรือเคมีของวัสดุและอุปกรณ์ของอินเวอร์เตอร์ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานหรืออายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ การทำงานของพัดลม อินเวอร์เตอร์ที่มีกำลังไฟฟ้าสูงจะใช้พัดลมภายนอกเพื่อระบายความร้อน…

Read more
Back To Top