skip to Main Content

กกพ.จ่อเปิดรับซื้อไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม 100 เมกะวัตต์ เดือน ธ.ค. 65 ให้ FiTจูงใจมาก 6.08 บาทต่อหน่วย

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) เตรียมเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม จำนวน 100 เมกะวัตต์ ในเดือน ธันวาคม 2565 นี้ พร้อมกำหนดเงื่อนไขต้องเป็นโรงไฟฟ้าใหม่ที่ไม่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ามาก่อน และต้องมีกำลังผลิตติดตั้งไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ โดยจะเปิดรับซื้อในรูปแบบ FiT อัตราสูง 6.08 บาทต่อหน่วย สัญญา 20 ปี  กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบปี 2569 ระบุประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกเดือน พ.ค. ปี 2566 เหตุมีขั้นตอนการยื่นอุทธรณ์เพิ่ม เพื่อให้การแข่งขันเกิดความโปร่งใสมากที่สุด ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน (Energy News Center- ENC) รายงานว่า คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) เตรียมเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรมในเดือน ธ.ค. 2565 นี้ โดยล่าสุดเมื่อวันที่…

Read more

เทคโนโลยี “พลังงานหมุนเวียน” ก้าวหน้าอีกขั้น เมื่อสแตนฟอร์ดพัฒนา “แผงโซลาร์เซลล์” ที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ในเวลากลางคืน

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาไม่มีแผงโซลาร์เซลล์ที่ผลิตไฟฟ้าได้ในตอนกลางคืนเลย แต่การวิจัยชิ้นใหม่จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา แสดงให้เห็นถึงโอกาสในการเก็บเกี่ยวพลังงานหมุนเวียนอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ได้แม้ในยามที่พระอาทิตย์ไม่สาดส่อง นักวิจัยจากสแตนฟอร์ดดัดแปลงแผงโซลาร์เซลล์ที่มีจำหน่ายทั่วไปเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจำนวนเล็กน้อยในตอนกลางคืน โดยใช้กระบวนการที่เรียกว่าการระบายความร้อนด้วยการแผ่รังสี ซึ่งอาศัยสุญญากาศในอวกาศที่เย็นยะเยือก แม้ว่าแผงโซลาร์เซลล์มาตรฐานสามารถจ่ายไฟฟ้าได้ในระหว่างวัน แต่อุปกรณ์นี้สามารถทำหน้าที่เป็น “แหล่งพลังงานหมุนเวียนที่ต่อเนื่องสำหรับทั้งกลางวันและกลางคืน เพราะต่อให้แผงโซลาร์เซลล์ที่ดัดแปลงด้วยการเพิ่มเทคโนโลยีบางอย่างลงไปแล้วจะสร้างพลังงานจำนวนเล็กน้อยเมื่อเทียบกับแผงโซลาร์เซลล์สมัยใหม่ที่ทำได้ในตอนกลางวัน แต่พลังงานนั้นยังคงมีประโยชน์อยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืน เมื่อความต้องการพลังงานต่ำกว่ามาก” ตามผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Applied Physics Letters ระบุ เทคโนโลยีดังกล่าวประกอบด้วยเครื่องกำเนิดเทอร์โมอิเล็กทริก ซึ่งสามารถดึงกระแสไฟฟ้าจากความแตกต่างเล็กน้อยของอุณหภูมิระหว่างอากาศแวดล้อมและเซลล์แสงอาทิตย์ ซานฮุย ฟาน ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด “เรามักจะคิดว่าดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญ แต่ความจริงคือความเย็นของอวกาศยังเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญอย่างยิ่ง” ซานฮุย ฟาน ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ผู้เป็นหัวหน้านักวิจัยของโครงการนี้กล่าว ในทางเทคนิค แผงโซลาร์เซลล์ที่ดัดแปลงจะไม่ผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในตอนกลางคืน แทนที่จะใช้ประโยชน์จากแสงแดด (หรือแสงดาวและแสงจันทร์) นักวิจัยได้เพิ่มเทคโนโลยีที่ใช้ประโยชน์จากการระบายความร้อนด้วยการแผ่รังสี เมื่อวัตถุหันเข้าหาท้องฟ้าในตอนกลางคืน มันจะแผ่ความร้อนออกสู่อวกาศ ซึ่งหมายความว่าวัตถุจะเย็นกว่าอุณหภูมิของอากาศรอบๆ ผลกระทบนี้อาจมีการใช้งานที่ชัดเจนในอาคารทำความเย็น แต่ความแตกต่างของอุณหภูมิก็สามารถนำมาใช้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้เช่นกัน ทั้งนี้เมื่อเกือบ 2…

Read more

SETA 2022 เอกชนชี้ทิศทางโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มเติบโตขึ้นหลังค่าไฟฟ้าพุ่งสูง

สัมมนา Solar and Storage ในหัวข้อ เกาะติดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านเซลล์แสงอาทิตย์และระบบกักเก็บพลังงาน “Solar PV and Storage : Technology Advancement Update” ซึ่งจัดขึ้นในวันสุดท้ายของงาน SETA 2022 หรืองานประชุมแสดงสินค้าและนิทรรศการด้านไฟฟ้าและพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ประจำปี 2565 ภาคเอกชนประสานเสียงยืนยันการติดตั้งโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยบูมแน่  หลังค่าไฟฟ้าปี2565 พุ่งสูงเกิน 4 บาทต่อหน่วย ชี้อีก 20 ปีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์แตะ 6-7 หมื่นเมกะวัตต์ ดันยอดใช้พุ่งถึง 50% เทียบกับเชื้อเพลิงทั้งหมด เหตุคุ้มค่าคืนทุนเร็วใน 5 ปี พร้อมแนะภาครัฐเร่งปรับลดกฎระเบียบโซลาร์รูฟท็อป หวังภาคครัวเรือนเข้าถึงการติดตั้งและผลิตไฟฟ้าใช้เอง เชื่อส่งผลให้การติดตั้งโซล่าร์รูฟท็อปโตแบบก้าวกระโดดแน่ ศ.ดร.ดุสิต เครืองาม นายกสมาคมกิตติมศักดิ์ สมาคมอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ไทย กล่าวว่า  การติดตั้งโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าในประเทศมีแนวโน้มเติบโตแน่นอน จะเห็นได้ว่าในอดีตที่ผ่านมาไทยเริ่มต้นติดตั้งโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ห่างไกลสายส่งไฟฟ้า ต่อมาก็เริ่มติดตั้งบนหลังคา หรือที่เรียกว่า โซลาร์รูฟท็อป จากนั้นภาครัฐก็เข้ามาให้การสนันสนุนด้วยระบบการให้เงินส่วนเพิ่มในการผลิตไฟฟ้า หรือ Adder และเปลี่ยนมาเป็นระบบการให้เงินสนับสนุนตามต้นทุนที่แท้จริง(Feed in Tariff -Fit) จนในปี 2565 นี้ เริ่มเข้าสู่ภาวะไม่ต้องรับการสนับสนุนจากภาครัฐแล้ว เนื่องจากต้นทุนการผลิตถูกลงและสามารถแข่งขันได้เอง  เมื่อมาดูในส่วนของกำลังผลิตไฟฟ้าจะพบว่า ในปี 2564 ทั่วโลกมีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ทุกชนิดเพื่อผลิตไฟฟ้ารวม 6 แสนเมกะวัตต์ สูงกว่ากำลังการผลิตไฟฟ้าจากทุกเชื้อเพลิงในประเทศไทยที่มีกำลังผลิตรวม 4-5 หมื่นเมกะวัตต์ และในแต่ละปี โลกจะติดตั้งโซลาร์ฯอยู่ประมาณ 1 แสนเมกะวัตต์ โดยจีนประเทศเดียวติดตั้งถึง 5 หมื่นเมกะวัตต์ ขณะที่ประเทศไทยนั้นคาดว่าจะติดตั้งเฉลี่ยปีละ 500 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันไทยติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปแล้ว 1,000 เมกะวัตต์ คิดเป็นมูลค่าทางธุรกิจถึง 4 หมื่นล้านบาท และคาดว่าทุกปีจะมีมูลค่าทางธุรกิจเพิ่มขึ้น 1 หมื่นล้านบาท โดยในปี 2568 คาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 3 หมื่นล้านบาท  นอกจากนี้การติดตั้งโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้ายังถือว่าคุ้มค่ามาก เมื่อเทียบกับการต้องจ่ายค่าไฟฟ้าในปัจจุบัน โดยค่าไฟฟ้าเดือน ก.ย. 2565 ได้ปรับสูงขึ้นกว่า 4 บาทต่อหน่วยและเมื่อรวมภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยทำให้ค่าไฟฟ้าบ้านเรือนสูงถึง 5.70 บาทต่อหน่วย ขณะที่บ้านที่ใช้ระบบคิดค่าไฟฟ้าแบบ TOU หรืออัตราค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาการใช้ คือกลางวันราคา 7.20 บาทต่อหน่วย กลางคืนราคา 3.80 บาทต่อหน่วย เป็นต้น ซึ่งการที่ค่าไฟฟ้าพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น ภาครัฐได้ให้เหตุผลว่าเกิดจากแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยและในเมียนมาผลิตได้ลดลง ประกอบกับราคาก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG) ที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาแพง  ดังนั้นการติดตั้งโซล่าร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าใช้เองจึงเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าที่สุด ซึ่งปัจจุบันต้นทุนโซลาร์เซลล์ถูกลงทำให้กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารขนาดใหญ่ที่ติดตั้งโซลาร์ฯ ได้รับการคืนทุนเร็วภายใน 5 ปี ส่วนกลุ่มที่ได้การส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) จะคืนทุนเร็วภายใน 2-3 ปี ดังนั้นปัจจุบันโรงงานส่วนใหญ่จึงพยายามติดตั้งโซลาร์ฯ เพื่อลดต้นทุนกันมากขึ้น  ส่วนภาคครัวเรือนต้องยอมรับว่ายังติดตั้งโซลาร์ฯได้ช้า เนื่องจากมาตรการภาครัฐไม่จูงใจ โดยรับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินเพียงราคา 2.20 บาทต่อหน่วย ขณะที่ราคาค่าไฟฟ้าที่ประชาชนจ่ายให้การไฟฟ้าสูงถึงกว่า 4 บาทต่อหน่วย รวมทั้งภาครัฐไม่มีงบสนับสนุนการลงทุนสำหรับภาคครัวเรือนและปัญหาสำคัญอีกประการคือ ระเบียบราชการที่เป็นอุปสรรคต่อการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป แม้ที่ผ่านมาภาคเอกชนจะกระตุ้นให้ภาครัฐแก้ไขกฎระเบียบที่ยุ่งยากมากว่า 10 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่หมด  โดยที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรมได้ยกเว้นให้การติดตั้งโซลาร์ฯ ขนาดไม่เกิน 1 เมกะวัตต์ ไม่ต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน(รง.4) ไปแล้ว และขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาให้ยกเลิกใบ รง.4 กับโรงไฟฟ้าทุกชนิดด้วย เพื่อจะได้ไม่ติดปัญหาด้านผังเมือง รวมทั้งการเปิดเสรีไฟฟ้า ซึ่งเชื่อว่าอนาคตอุปสรรคต่างๆจะลดลงไปอีกและทำให้ภาคครัวเรือนได้ติดตั้งโซลาร์ฯ เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เองได้มากขึ้น  นายสัมฤทธิ์ สิทธิวรานุวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท Solar D กล่าวว่า มั่นใจว่าการติดตั้งโซลาร์ฯในประเทศไทยจะเติบโตอย่างแน่นอน โดยดูจากทิศทางของโลกที่ปัจจุบันใช้ไฟฟ้าจากโซล่าร์ฯ อยู่ประมาณ 10% ของกำลังผลิตไฟฟ้าจากทุกประเภท และโลกคาดการณ์ว่าจะมีการใช้เพิ่มขึ้นถึง 50% ในอีก 20 ปีข้างหน้า  ดังนั้นการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ในอนาคตจะสูงถึง 6-7 หมื่นเมกะวัตต์  ซึ่งประเทศไทยก็มีแนวโน้มจะใช้ไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์เพิ่มขึ้น หลังจากค่าไฟฟ้าเดือน ก.ย. 2565 ที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้ประชาชนเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ใช้เองมากขึ้น นายวีรุจน์ เตชะสุวรรณ Country Manager บริษัท Solar Edge กล่าวว่า จากการทำธุรกิจด้านโซลาร์ฯ มากว่า 10 ปี ทำให้เห็นว่าปัจจุบันโรงงานและภาคครัวเรือนติดตั้งโซลาร์เซลล์กันมากขึ้นจริงๆยิ่งปัจจุบันได้รับการคืนทุนเร็วเพียง 5-7 ปี ขณะที่การผลิตไฟฟ้าโซลาร์ฯมีอายุถึง 25 ปี ทำให้คุ้มค่าต่อการลงทุน ประกอบกับค่าไฟฟ้าเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นปีละ 2-3% ทำให้โซลาร์ฯ เป็นสิ่งที่น่าสนใจและเริ่มเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น โดยในต่างประเทศนั้นภาคครัวเรือนจะติดตั้งโซลาร์ฯมากกว่าภาคอุตสาหกรรม ส่วนในประเทศไทย ภาคอุตสาหกรรมกลับติดตั้งมากกว่าภาคครัวเรือนทั้งนี้เนื่องจากช่วยลดต้นทุนภาคอุตสาหกรรมได้ ดังนั้นแต่ละโรงงานจึงแข่งขันติดตั้งโซลาร์ฯกันเพิ่มขึ้น ขณะที่ภาคครัวเรือนยังเจออุปสรรคด้านการลงทุนและกฎระเบียบรัฐในการขออนุญาตทำให้การติดตั้งดูช้าลง ดังนั้นหากรัฐผ่อนคลายกฎระเบียบ เชื่อว่าภาคครัวเรือนจะหันมาติดตั้งโซลาร์ฯ กันอย่างก้าวกระโดด นายวรวรรธน์ นาคะวิโร ผู้อำนวยการระดับภูมิภาคด้านระบบไฟฟ้า บริษัท หัวเหว่ย เทคโนโลยี่(ประเทศไทย) กล่าวว่า มั่นใจว่าการติดตั้งโซลาร์ฯจะเติบโตมาก เพราะแผนพลังงานแห่งชาติที่ออกมาใหม่จะมุ่งไปยังการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนเป็นหลัก ประกอบกับช่วงนี้ค่าไฟฟ้าแพงทำให้ประชาชนหันมาสนใจการติดตั้งโซลาร์ฯ มากขึ้น แต่ยอมรับว่าสัดส่วนการติดตั้งภาคครัวเรือนยังน้อยเพราะราคายังไม่ถึงจุดที่ภาคครัวเรือนจะแห่ติดตั้ง ส่วนแบตเตอรี่ก็ยังติดตั้งน้อยเพราะราคาแพง อย่างไรก็ตามอยากให้ภาครัฐลดกฎระเบียบการออกใบอนุญาตติดตั้งโซลาร์ฯให้น้อยลง เพื่อให้ภาคครัวเรือนติดตั้งได้สะดวกขึ้น ดร.พิมพา ลิ้มทองกุล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมพลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติและนายกสมาคมเทคโนโลยีระบบกับเก็บพลังงานไทย กล่าวว่า การติดตั้งแบตเตอรี่สำรอง(Storage)ในการผลิตไฟฟ้าโซลาร์ฯ เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยกักเก็บไฟฟ้าไว้ใช้ได้ตลอดวัน  แต่การเติบโตของการใช้ Storage ก็ขึ้นอยู่กับราคาเป็นหลัก โดยต้นทุน Storage จะอยู่ที่ 4 บาทต่อการเก็บไฟฟ้า 1 หน่วย เมื่อรวมกับการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์ฯ อีก 2 บาทต่อหน่วย ทำให้ราคาค่าไฟฟ้าจากโซลาร์ฯ สูงถึง 6 บาทต่อหน่วย ดังนั้นหากจะให้คุ้มค่าในการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์ ฯต้นทุน Storage จะต้องถูกกว่า 4 บาทต่อหน่วย  หรือถ้าลดลงเหลือ 1.5 บาทต่อหน่วย และเมื่อรวมกับค่าผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์ฯ 2 บาทต่อหน่วย ราคาค่าไฟฟ้าจะเหลือเพียง 3.5 บาทต่อหน่วย ซึ่งจะถูกกว่าการใช้ดีเซลในการผลิตไฟฟ้า ที่มีราคาถึง 6 บาทต่อหน่วย ปัจจุบันมีเทคโนโลยีในการผลิต Storage มากขึ้น แต่เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนการกักเก็บพลังงานจะพบว่าลิเธียมไอออนยังคุ้มค่าต่อการใช้งานมากกว่าและยังคงเป็นเทคโนโลยีทางเลือกในการผลิต Storage ไปได้จนถึงปี 2583  นางรัตติยา หรรษาภิพัฒน์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมผู้ประกอบกิจการไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กล่าวว่า ผู้ผลิตไฟฟ้าที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์เชื่อมโยงกับเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวเอง หรือไม่ผ่านระบบสายส่งการไฟฟ้า จะไม่ต้องขออนุญาตติดตั้งโซลาร์ฯกับการไฟฟ้า ส่วนกลุ่มที่ใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้า แต่มีโซลาร์ฯ เป็นไฟฟ้าสำรอง และกลุ่มที่ใช้โซลาร์ฯคู่ขนานกับการใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้าจะต้องขออนุญาตติดตั้งโซลาร์ฯ จากการไฟฟ้าด้วย โดยขั้นตอนดำเนินการสำหรับผู้ที่จะต้องขออนุญาตกับการไฟฟ้า มีดังนี้ 1.จะต้องยื่นขออนุญาตเชื่อมต่อระบบกับการไฟฟ้า 2.ยื่นขอจดแจ้งยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน 3.เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะชำระค่าธรรมเนียม 4.จากนั้นติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้ 5. การไฟฟ้าจะเข้าทำการเปลี่ยนมิเตอร์เป็นมิเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ให้แทน และ 6. เริ่มเข้าสู่กระบวนการเชื่อมต่อจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบโดยขั้นตอนทั้งหมดมีไว้เพื่อให้ผู้ใช้ไฟฟ้าเกิดความปลอดภัยทุกขั้นตอน ที่มา SETA 2022 เอกชนชี้ทิศทางโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มเติบโตขึ้นหลังค่าไฟฟ้าพุ่งสูง - Energy News…

Read more

กฟผ. ร่วมโชว์นวัตกรรมและเทคโนโลยีพลังงานสะอาด หนุนไทยสู่เป้าหมาย Net Zero ในงาน SETA 2022

กฟผ. ร่วมสนับสนุนการจัดงานประชุมและนิทรรศการระดับนานาชาติ เพื่อผลักดันประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050 สู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ปี 2065 พร้อมร่วมโชว์นวัตกรรมและเทคโนโลยีพลังงานสะอาด Hydro-Floating Solar Hybrid, Carbon Capture, Hydrogen และ EV ในงาน SETA 2022, SOLAR+STORAGE ASIA 2022 และ Enlit Asia 2022 ระหว่างวันที่ 20 – 22 กันยายนนี้ ณ ศูนย์ประชุมและนิทรรศการไบเทค บางนา…

Read more

ปตท. รายงานราคาน้ำมันโลกประจำสัปดาห์ 12-16 ก.ย. เพิ่มขึ้น หลังสหรัฐฯ ส่งสัญญาณหยุดระบายน้ำมันดิบจากคลังสำรองฯ ขณะจีนยุติล็อกดาวน์เฉิงตู

ทีมวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รายงานว่า ราคาน้ำมันดิบอ้างอิงเฉลี่ยทุกชนิดสัปดาห์ล่าสุด เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า 0.60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จนถึงเกือบ 2 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หลังสหรัฐฯ ส่งสัญญาณจะหยุดระบายน้ำมันดิบจากคลังสำรองปิโตรเลียมเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserve: SPR) เพิ่มเติม หลังจากมาตรการปัจจุบัน (เริ่มตั้งแต่เดือน มี.ค. 65) จะสิ้นสุดในเดือน ต.ค. 65 ปริมาณรวมประมาณ 1 MMBD ใน 6 เดือน หรือ 180 MMB ทั้งนี้ Bloomberg…

Read more

กบน.สั่งเรียกเก็บเงินผู้ใช้ดีเซลเข้ากองทุนน้ำมัน 1.13 บาทต่อลิตร มีผลตั้งแต่ 17 ก.ย.65

คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง(กบน.) เลิกชดเชยราคาดีเซลอีกครั้ง พร้อมเรียกเก็บเงินผู้ใช้ดีเซลเข้ากองทุนฯ 1.13 บาทต่อลิตร มีผลพรุ่งนี้ 17 ก.ย. 2565 หลังราคาดีเซลสิงคโปร์ปรับลดลงกว่า 9 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล จากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยการใช้น้ำมันลดลง ส่งผลช่วยกองทุนฯ ลดภาระชดเชยน้ำมันและมีรายได้เข้ากระเป๋าเพิ่มเป็นวันละ 71.67 ล้านบาท แต่สถานะกองทุนฯโดยรวมยังติดลบหนักถึง 1.24 แสนล้านบาท นายวิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง(กบน.) ที่มีนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธานในวันที่ 16 ก.ย. 2565 ได้มีมติเรียกเก็บเงินผู้ใช้น้ำมันกลุ่มดีเซลเข้ากองทุนน้ำมันฯ 1.13 บาทต่อลิตร สำหรับกลุ่มผู้ใช้ดีเซลธรรมดา, ดีเซล B7, ดีเซล B20 และดีแซลเกรดพรีเมียม โดยมีผลตั้งแต่วันที่…

Read more

ราคาน้ำมันดิบ (14 ก.ย. 65) ปรับลด ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐพุ่งขึ้นเกินคาด

ราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัสและเบรนต์ปรับลดลง หลังดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐพุ่งขึ้นเกินคาดในเดือน ส.ค. วันที่ 14 กันยายน 2565 หน่วยวิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน บมจ.ไทยออยล์ ระบุว่า ราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัสและเบรนต์ปรับลดลง หลังตลาดได้รับแรงกดดันจากดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐ (CPI) ปรับเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา โดยสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลงร้อยละ 0.1 อีกทั้งปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 ในเดือน ส.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดหมายว่าจะปรับเพิ่มเพียงร้อยละ 8.1 โดยจากตัวเลขที่ปรับสูงขึ้นนี้ เป็นปัจจัยหนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมกำหนดนโยบายการเงินในสัปดาห์หน้า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยและความต้องการใช้น้ำมันลดลง โดยราคาน้ำมันเวสต์เทกซัสซื้อขายเมื่อ 13 ก.ย. 2565 อยู่ที่ 87.31 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง -0.47…

Read more

GC เปิดโรงงาน ENVICCO ผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

GC เปิดเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ เอ็นวิคโค (ENVICCO) โรงงานผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง ระดับ Food Grade แห่งแรกในประเทศไทย ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หวังช่วยลดพลาสติกใช้แล้วในประเทศได้ถึง 60,000 ตัน/ปี ลดก๊าซเรือนกระจก 75,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เท่ากับการปลูกป่าประมาณ 78,000 ไร่ หรือปลูกต้นไม้ใหญ่มากกว่า 8 ล้านต้น ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า วันนี้ GC มีความภูมิใจที่ ENVICCO พร้อมดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว โดยใช้วัตถุดิบทั้งหมด 100% เป็นพลาสติกใช้แล้วในประเทศ ผ่านเทคโนโลยีการผลิตที่ล้ำสมัย เพื่อคืนคุณค่าให้กับพลาสติกใช้แล้วให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าอีกครั้ง…

Read more

เริ่มแล้ว! มหกรรมอุตสาหกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม ASEW & EVA 2022 ระหว่าง 14-16 ก.ย. 2565 ปักหมุดดันไทยสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

วันนี้  (14 ก.ย. 2565) กระทรวงพลังงาน ร่วมกับสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยและอินฟอร์มา  มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย จัดงาน ASEAN Sustainable Energy Week (ASEW) และ Electric Vehicle Asia (EVA) 2022 มหกรรมอุตสาหกรรมด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม การจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าที่ครอบคลุมที่สุดในภูมิภาคอาเซียน เพื่อเตรียมความพร้อมสร้างการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานและวางเป้าหมายขับเคลื่อนไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีพลังงานสะอาด  โดยงานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-16 ก.ย. 2565 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ฮอลล์ 1-2 นายพิสุทธิ์ เพียรมนกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวปาฐกถาในพิธีเปิดงาน ว่า กระทรวงพลังงานให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ เพื่อลดมูลค่าความเสียหายต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน โดยได้ขานรับนโยบายจากรัฐบาล…

Read more

ทรินา โซลาร์เปิดตัวแผงโซลาร์เซลล์รุ่นใหม่ในงาน ASEAN Sustainable Energy Week งานแสดงเทคโนโลยีด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม

ทรินา โซลาร์ ผู้ให้บริการโซลูชั่นแบบครบวงจรด้านเซลล์แสงอาทิตย์และพลังงานอัจฉริยะชั้นนำของโลก ประกาศเปิดตัวแผงโซลาร์เซลล์รุ่น Vertex DE19R อย่างเป็นทางการที่งาน ASEAN Sustainable Energy Week กรุงเทพฯ ที่จัดขึ้นในวันที่ 14 -16 กันยายน ทอดด์ ลี ประธานบริษัทของทรินา โซลาร์ ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกกล่าวว่า "ในฐานะ แบรนด์แผงโซลาร์เซลล์แรก ๆ ที่เข้ามาในประเทศไทย ทรินา โซลาร์ได้ทุ่มเทและให้ความสำคัญกับตลาดไทยมาตลอดสิบปี" "เราได้มาร่วมแสดงในงาน ASEAN Sustainable Energy Week ที่กรุงเทพฯ เนื่องจากตลาดไทยเป็นตลาดที่เติบโตอย่างต่อเนื่องและมีความสำคัญอย่างมากต่อทรินา โซลาร์ เราเป็นแบรนด์ที่ติดสามอันดับแรกในตลาดไทยเสมอ และต้องขอบคุณพันธมิตรธุรกิจในไทยทุกรายอย่างมาก ที่ทำให้เราครองอันดับนี้ได้" แผงโซลาร์เซลล์รุ่น Vertex…

Read more
Back To Top